Uninterruptible Power Supply หรือเรียกโดยย่อว่า UPS คือเครื่องสำรองไฟฟ้า ที่สามารถทำการจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง แม้ในเวลาที่ไฟดับหรือเกิดปัญหาทางไฟฟ้า โดยสามารถรับพลังงานไฟฟ้าได้ทุกสภาพ แล้วจ่ายพลังงานไฟฟ้าออกมาเป็นปกติ โดยหน้าที่หลักของ UPS คือ เป็นแบตเตอรี่สำรองสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้า และเป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชาก ป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ไฟฟ้าของเรา จากเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกี่ยวกับไฟฟ้าที่จะส่งผลโดยตรงต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่กำลังทำงานอยู่
UPS รับพลังงานไฟฟ้าเข้ามา ไม่ว่าคุณภาพไฟฟ้าจะเป็นอย่างไรก็จะสามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้เป็นปกติ รวมถึงทำการจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองที่เก็บไว้ในแบตเตอรี่ให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งหลักการของ UPS คือ ใช้วิธีการแปลงไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) แล้วเก็บสำรองไว้ในแบตเตอรี่ส่วนหนึ่ง และในกรณีที่เกิดปัญหาทางไฟฟ้า (เช่น ไฟดับ หรือคุณภาพไฟฟ้าผิดปกติ เป็นต้น) อุปกรณ์ไฟฟ้าไม่สามารถใช้พลังงานไฟฟ้าที่รับมาได้ UPS ก็จะเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรง (DC) จากแบตเตอรี่ ให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) แล้วจึงจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า
UPS แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก คือ
1. เครื่องสำรองไฟฟ้า UPS แบบ Standby UPS หรือที่เรียกว่าเครื่องสำรองไฟฟ้าแบบออฟไลน์ คือ เครื่องสำรองไฟฟ้าที่มีราคาถูกที่สุดในทุกประเภท อุปกรณ์ไฟฟ้าจะได้รับพลังงานโดยตรงผ่าน Input Power และตัว UPS จะทำการจ่ายกระแสไฟฟ้าในกรณีที่เกิดเหตุไฟดับเท่านั้น
● ราคาถูกที่สุด
● สามารถติดตั้งได้ง่าย มีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน
● มีขนาดที่เล็กกะทัดรัด น้ำหนักเบา สามารถขนย้ายได้อย่างสะดวก
● มีประสิทธิภาพสูงเนื่องจากไม่ได้เปิดเครื่องชาร์จอย่างต่อเนื่อง
2. เครื่องสำรองไฟฟ้า UPS แบบ Line Interactive - Line Interactive UPS คือ เครื่องสำรองไฟฟ้าที่อัปเกรดมาจากแบบ Standby โดยสิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือ ระบบป้องกันแรงดันไฟฟ้าสูงหรือต่ำอัตโนมัติ(Stabilizer) ที่จะเข้ามาเชื่อมต่อกับตัว Output เพื่อป้องกันปัญหาทางระบบไฟฟ้า ช่วยให้ UPS ไม่จำเป็นต้องจ่ายไฟสำรองจากแบตเตอรี่ทุกครั้งที่ไฟตกหรือไฟเกินไม่มากนัก
● มีอายุการใช้งานที่นานกว่าประเภท Offline UPS
● ราคาอยู่ในระดับปานกลาง สามารถใช้งานได้ในทุกพื้นที่
● มีขนาดที่เล็กกะทัดรัด น้ำหนักเบา สามารถขนย้ายได้อย่างสะดวก
3. เครื่องสำรองไฟฟ้า UPS แบบ True Online UPS (Double Conversion) - True Online UPS คือ ประเภทของเครื่องสำรองไฟฟ้าที่ดีที่สุดและมีราคาสูงสุดด้วยเช่นกัน ในการทำงาน เครื่องประจุแบตเตอรี่ และเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าจะทำงานตลอดเวลา ทำให้สามารถรับมือกับปัญหาการจ่าย
ไฟฟ้าได้ในทุกกรณีทั้งไฟดับ ไฟตก หรือ ไฟเกิน โดยไม่กระทบกับการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
● สามารถป้องกันความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าได้ทุกแบบ
● ไม่จำเป็นต้องปิดอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเมื่อต้องการตรวจสอบระบบการทำงาน
● มีการถ่ายโอนพลังงานอย่างต่อเนื่อง และสามารถป้องกันสัญญาณรบกวนได้
● อินเวอร์เตอร์เปิดตลอดเวลา คุณภาพของแรงดันไฟไม่มีความผิดเพี้ยน
UPS หรือเครื่องสำรองไฟเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยเข้ามาแก้ปัญหาเมื่อเกิดเหตุขัดข้องเกี่ยวกับการจ่ายกระแสไฟฟ้า โดยมีประโยชน์ในการใช้งานเพื่อ
● สำรองไฟไว้ใช้เมื่อไฟดับ
● ปกป้องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่ให้เกิดความเสียหายเมื่อไฟดับ
● ปรับแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
● ป้องกันสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้า
UPS มักประกอบไปด้วย 6 ส่วนประกอบหลัก คือ
1. Main Supply แหล่งจ่ายไฟฟ้าที่จ่ายให้กับทาง UPS ที่เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ 220 V (AC)
2. Rectifier / Charger แปลงกระแสไฟฟ้าจาก AC เป็น DC (Rectifier) ทำหน้าที่รับกระแสไฟฟ้า AC จากระบบจ่ายไฟ แปลงกระแสไฟฟ้า DC จากนั้นประจุเก็บไว้ในแบตเตอรี่
3. Battery เก็บพลังงานไฟฟ้าสำรองไว้ใช้ในกรณีเกิดปัญหาทางไฟฟ้า โดยจะจ่ายกระแสไฟฟ้า DC ให้กับเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าในกรณีที่ไม่สามารถรับกระแสไฟฟ้า AC จากระบบจ่ายไฟได้
4. Inverter รับกระแสไฟฟ้า DC จากเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า AC เป็น DC หรือแบตเตอรี่และแปลงเป็นกระแสไฟฟ้า AC สำหรับใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า
5. Static Switch อุปกรณ์ที่ใช้เอาไว้ Switching ของ Power source นั้นไปยัง Load ผ่าน UPS หรือว่า Bypass
6. Bypass จะดำเนินการจ่ายไฟฟ้าไปยังภาระทางไฟฟ้า (Load) ได้ทันที โดยไม่มีการแปลงกระแสไฟฟ้าระหว่างกระแสตรง (DC) และกระแสสลับ (AC) ผ่าน UPS โดย Bypass unit จะถูกใช้งานก็ต่อเมื่อต้องการบำรุงรักษา UPS (Maintenance) หรือ UPS มีปัญหาและดำเนินการ Switching ไปที่ Bypass unit แทน
งานใดที่มีจุดประสงค์เพื่อสำรองพลังงานไฟฟ้าสำหรับจ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ หรือเพื่อปรับแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า เมื่อเกิดปัญหาทางไฟฟ้าหรือเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้าที่อาจสร้างความเสียหายต่อข้อมูลและอุปกรณ์ไฟฟ้า สามารถนำ UPS ไปใช้งานได้ เช่น
● ระบบงานคอมพิวเตอร์
● สำนักงาน
● โรงงานอุตสาหกรรม
● การแพทย์
● สื่อสารและโทรคมนาคม
● การจัดการและประมวลผล ข้อมูล
● บ้านพักอาศัย
วิธีการเลือกเครื่องสำรองไฟฟ้า UPS ให้เหมาะสมกับการใช้งาน นอกจากข้อมูลในเบื้องต้นเกี่ยวกับประเภทของ UPS แล้ว เรายังมีคำแนะนำในการเพิ่มเติมอีก ดังนี้
1. ความเสถียรของไฟฟ้าที่ต้องการ ความเสถียรและไม่ต้องการให้การไฟฟ้าตัด ขณะที่คุณกำลังทำงาน
2. กำลังไฟ กำลังไฟขึ้นอยู่กับการใช้งานของคุณ แต่ละอุปกรณ์มีความต้องการที่แตกต่างกัน คุณต้องคำนึงถึงกำลังไฟที่เหมาะสมตามการใช้งาน
3. แบตเตอรี่การใช้งาน UPS ที่สามารถให้พลังงานมากพอต่อการทำงานเป็นเวลานาน คุณควรเลือกแบตเตอรี่ที่มีความจุใหญ่พอต่อความต้องการ
4. ระบบการควบคุม UPS บางรุ่นมีการตรวจจับสถานะของ UPS และการแจ้งเตือนผ่านอีเมลหรือการแจ้งเตือนเพื่อการดูแลรักษา ช่วยให้ใช้งานได้อย่างสะดวกและง่ายดายมากยิ่งขึ้น และคุณสมบัติเสริมอื่น ๆ ที่คุณต้องการ์ เช่น การรองรับการเชื่อมต่อ USB
5. ต้องการสำรองไฟได้นานเท่าไร กำหนดจากขนาดกำลังไฟฟ้าของเครื่องสำรองไฟและขนาดกำลังไฟฟ้าของอุปกรณ์การ Backup Time ขึ้นอยู่กับขนาดของแบตเตอรี่พิจารณางบประมาณ
6. พิจารณางบประมาณ ที่คุณสามารถใช้ได้ในการซื้อเครื่องสำรองไฟฟ้า