85 จำนวนผู้เข้าชม |
เชื่อว่าเพื่อนๆ ที่เข้ามาอ่านบทความนี้ ต้องมี UPS ใช้กันอยู่แน่นอน แต่ถ้ากำลังเจอปัญหาว่า UPS ไม่สำรองไฟ หรือ เครื่องสำรองไฟไม่จ่ายไฟอยู่ อย่าเพิ่งกังวลไปค่ะ เรามาดูกันว่าสาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง และจะมีวิธีแก้ไขที่ทันถ่วงทีได้ไหม
ซึ่งจริงๆแล้วก่อนที่ UPS จะเสียจนไฟไม่จ่าย มักจะมีสัญญาณให้เห็นก่อน เช่น UPS ส่งเสียงผิดปกติ, ไฟสถานะแจ้งเตือน หรือ เราสามารถทดลองปิดไฟทั่วบ้าน เพื่อดูว่า UPS จ่ายไฟสำรองได้หรือไม่ แต่ถ้าเพื่อนๆผ่านขั้นนั้นมาแล้วจนไม่จ่ายไฟอีกต่อไป อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น แบตเตอรี่เสื่อม ขั้วต่อหลวม หรือปัญหาจากระบบภายใน เดี๋ยวเราลองมาสำรวจกันค่ะ
1. แบตเตอรี่เสื่อมสภาพ
แบตเตอรี่เป็นหัวใจสำคัญของ UPS ก็เหมือนกับแบตโทรศัพท์ที่ใช้นานๆ ก็จะเสื่อมตามสภาพ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2-5 ปี หากเกินกว่านี้ความสามารถในการเก็บไฟลดลง เริ่มเก็บไฟไม่อยู่
*สัญญาณเตือน: เวลาสำรองไฟลดลง เช่น เคยสำรองไฟได้ 15 นาที แต่ตอนนี้เหลือแค่ 1-2 นาที หรือไฟสถานะแจ้งเตือน
2. ขั้วต่อหรือสายไฟมีปัญหา
ขั้วแบตหลวม มีคราบสกปรก หรือสายไฟที่เชื่อมต่อชำรุด ทำให้ไฟฟ้าไม่สามารถไหลเวียนได้เต็มที่
3. วงจรการชาร์จไฟเสีย
หาก UPS ไม่เก็บไฟ หรือชาร์จไม่เข้า อาจเกิดจากวงจรชาร์จเสีย หรือมีปัญหาไฟตก/ไฟกระชากบ่อยๆ
4. ซอฟต์แวร์หรือการตั้งค่าไม่เหมาะสม
UPS รุ่นใหม่ๆ มีซอฟต์แวร์ควบคุม ถ้าตั้งค่าผิด หรือไม่ได้อัปเดตเฟิร์มแวร์ อาจทำให้ UPS ไฟไม่เข้า หรือไม่จ่ายไฟสำรอง
5. อุปกรณ์ภายในเสียหาย
ส่วนประกอบ เช่น อินเวอร์เตอร์ (Inverter) หรือวงจรไฟฟ้าภายในที่เสียหายจากการใช้งานหนัก อาจทำให้ UPS ไม่สามารถจ่ายไฟได้
จะได้เห็นว่ามีทั้งปัญหาที่เราสามารถแก้ไขเอง และ อาศัยผู้เชี่ยวชาญงั้นเรามาดูกันก่อนค่ะ ว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้าง
1.ตรวจสอบแบตเตอรี่
เปิดฝา UPS และดูว่าแบตเตอรี่มีลักษณะบวม เสื่อม หรือหมดอายุการใช้งานหรือไม่ หากแบตเสื่อม ควรเปลี่ยนแบตใหม่ โดยเลือกรุ่นที่ตรงกับเครื่อง UPS (สามารถส่งรูป หรือ ชื่อรุ่นมาให้ MaxipowerPlus เช็ครุ่นและราคาแบตได้ค่ะ)
2.ทำความสะอาดขั้วต่อและสายไฟ
ใช้แปรงหรือผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดคราบสกปรกหรือการกัดกร่อนที่ขั้วต่อ เพื่อให้การเชื่อมต่อกลับมาสมบูรณ์ (บางครั้งแค่เช็ดให้สะอาดก็ช่วยแก้ปัญหาไฟไม่เข้าหรือจ่ายไฟไม่สม่ำเสมอได้แล้วค่ะ)
3.ชาร์จแบตใหม่อีกครั้ง
หากไม่ได้ชาร์จแบตเต็ม ลองเสียบปลั๊ก UPS ทิ้งไว้ 8-12 ชั่วโมง เพื่อให้แบตได้รับการชาร์จเต็ม แล้วลองทดสอบดูอีกครั้งว่า UPS สำรองไฟได้หรือไม่
สิ่งที่ต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญ :
1.วงจรการชาร์จไฟเสีย
หาก UPS ไม่สำรองไฟแม้เชื่อมต่อปกติ อาจเกิดจากวงจรการชาร์จที่เสีย ต้องให้ช่างผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ
2.ซอฟต์แวร์หรือการตั้งค่าไม่เหมาะสม
การอัปเดตเฟิร์มแวร์หรือการปรับตั้งค่าความไวแรงดันไฟ อาจซับซ้อนเกินไปสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป ควรให้ผู้เชี่ยวชาญดูแล เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจทำให้ระบบของ UPS เสียหาย
3.อุปกรณ์ภายในเสียหาย
หากอินเวอร์เตอร์หรือวงจรไฟฟ้าเสีย ควรส่งซ่อมที่ศูนย์บริการ เพื่อแก้ไขให้เครื่องกลับมาทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
4.UPS เสียตั้งแต่เริ่มใช้งาน
หาก UPS มีปัญหาตั้งแต่วันแรก เช่น เสียบปลั๊กแล้วไฟไม่เข้า แนะนำให้ติดต่อร้านที่ซื้อมาเพื่อส่งเคลม อย่าลืมเช็กเงื่อนไขการรับประกันด้วยนะคะ
Maxi Power Plus ขอฝากทริคการดูแลเพิ่มเติมอีกสักนิด เพื่อยืดอายุการใช้งานไปได้อีกค่ะ เริ่มจาก… การติดตั้ง UPS ในที่ที่ระบายอากาศดี หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีความชื้นหรืออุณหภูมิสูง เพราะความร้อนและความชื้นอาจทำให้วงจรภายในเสียหายเร็วขึ้น ใช้งาน UPS ให้เหมาะสมกับกำลังไฟที่รองรับ อย่าเสียบอุปกรณ์เกินขีดจำกัด เพื่อป้องกันระบบทำงานหนักเกินไป อีกหนึ่งวิธีที่สำคัญคือ ทดสอบระบบสำรองไฟทุก 2-3 เดือน โดยปิดไฟหลักเพื่อดูว่า UPS จ่ายไฟสำรองได้อย่างปกติหรือไม่
แม้ปัญหา UPS ไม่สำรองไฟ, UPS ไม่เก็บไฟ, หรือ UPS ไม่จ่ายไฟ อาจจะฟังดูยุ่งยาก แต่ถ้าเรารู้สาเหตุและแก้ไขให้ตรงจุด ก็ช่วยให้ UPS กลับมาทำงานได้ดีเหมือนเดิม หรือถ้าเพื่อนๆ เจอปัญหาที่ซับซ้อน เช่น UPS ไฟไม่เข้า ตั้งแต่เริ่มใช้งาน หรือระบบภายในเสียหาย อย่าลืมว่ามีผู้เชี่ยวชาญอย่าง Maxi Power Plus ที่พร้อมช่วยดูแล UPS ของคุณ
Maxi Power Plus มีบริการเปลี่ยนแบตเตอรี่, ตรวจสอบ และซ่อมแซม UPS โดยทีมงานมืออาชีพ พร้อมอะไหล่คุณภาพสูงที่มั่นใจได้ ถ้าต้องการให้ UPS ของคุณกลับมาทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ติดต่อเราได้ทุกเมื่อเลยค่ะ